ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เผยแพร่ประกาศราคากลางงานจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาทบทวนรายละเอียดความเหมาะสมปรับปรุงแบบ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง และส่วนต่อขยายไปท่าฉัตรไชย พร้อมบันทึกข้อความ รฟมคำพูดจาก ทดลองเล่นสล็อตทุกค่ายไม่ต้องสมัคร. ขอความเห็นชอบขอจ้างที่ปรึกษาฯ โดยวิธีเฉพาะเจาะลง ซึ่งนายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่า รฟม. ได้ลงนามเห็นชอบตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยจะจ้างที่ปรึกษาในวงเงิน 55.8 ล้านบาท ใช้แหล่งเงินรายได้/เงินที่ รฟม. มีอยู่ ทั้งนี้จะใช้ระยะเวลาดำเนินงานศึกษา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ระบุในหนังสือแจ้งวันเริ่มงาน (Notice to Proceed :NTP)คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
สาเหตุที่ต้องศึกษาทบทวน และจ้างศึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจงนั้น เนื่องจากผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของกระทรวงคมนาคม และผลการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ส่งผลให้ข้อกำหนดและขอบเขตงานจ้างปรึกษาฯ เดิมที่ผู้ว่า รฟม. ได้เห็นชอบไว้ไม่ครอบคลุมเนื้อหา และผลการดำเนินงานที่ รฟม. ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนตามข้อสั่งการ และผลการประชุมดังกล่าว ประกอบกับเพื่อความต่อเนื่องของข้อมูลทางเทคนิคที่ใช้สำหรับศึกษาวิเคราะห์ ดังนั้น รฟม. จึงต้องดำเนินการต่อจากงานที่ได้ทำไว้แล้ว เนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค ซึ่งสอดคล้องตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ.2560 มาตรา 70(3)(ค) เป็นงานที่จำเป็นต้องให้ที่ปรึกษารายเดิมทำต่อจากงานที่ได้ทำไว้แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 3.5 หมื่นล้านบาท ก่อนหน้านี้จะดำเนินการรูปแบบแทรม มีแผนเริ่มก่อสร้างปี 63 เปิดบริการปี 67 แต่ต่อมานายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม มีนโยบายให้ปรับรูปแบบเป็นรถไฟฟ้าล้อยาง (Automate Rapid Transit : ART) เพื่อช่วยลดต้นทุนการก่อสร้าง และล่าสุดกระทรวงคมนาคมยังมีนโยบายให้ขยายเส้นทางเพิ่มเติมไปยังท่าฉัตรไชย ระยะทางประมาณ 16.2 กม. เพื่อรองรับการเดินทางเข้าร่วมงาน Specialised Expo 2028 ซึ่งปัจจุบันจังหวัดภูเก็ต อยู่ระหว่างเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงานในช่วงเดือน มี.ค.-พ.ค.71 ด้วย
สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดเชียงใหม่ สายสีแดง ช่วงโรงพยาบาลนครพิงค์-แยกแม่เหียะสมานสามัคคี ระยะทาง 15.8 กม. และโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ระยะทาง 11.17 กม. รฟม. ได้ให้ที่ปรึกษาศึกษางานระบบเทคโนโลยีรถไฟฟ้าเพิ่มเติม ตั้งแต่เดือน มิ.ย.65 ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 5 เดือน ศึกษาแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ต.ค.65
การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาเปรียบเทียบเทคโนโลยีรถไฟฟ้า 3 ระบบที่เป็นไปได้มากที่สุด ได้แก่ 1.รถไฟฟ้ารางเบา (Steel Wheel Tram), 2.รถรางชนิดใช้ล้อยาง (Tire Tram) และ 3.รถโดยสารไฟฟ้า เป็นเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน (Electric Bus Rapid Transit : E-BRT) โดยศึกษาด้านเทคโนโลยี ศักยภาพ การเดินรถ และวงเงินลงทุนแบบคร่าวๆ เบื้องต้น จ.นครราชสีมา ยังใช้เส้นทางเดิม แต่ จ.เชียงใหม่อาจต้องปรับเปลี่ยนบางส่วน ทั้งนี้ก่อนสรุปผลศึกษาจะประชุมร่วมกับประชาชนในพื้นที่ และจะเลือกระบบที่เหมาะสมที่สุดเสนอ รฟม.ต่อไป ส่วนโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดพิษณุโลก สายสีแดง (มหาวิทยาลัยพิษณุโลก–เซ็นทรัลพลาซ่า) ระยะทาง 12.6 กม. ยังไม่มีความคืบหน้า.